การแห่งปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทำเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คำว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"
ปราสาทผึ้ง
ปราสาทผึ้ง
การตกแต่งปราสาทผึ้ง
ความเชื่อในประเพณีการแห่ปราสาทผึ้งนั้น มีรากฐานของความเชื่อ ที่เนื่องมาจากความเชื่อในพุทธศาสนา ความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณ และความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือ
ปราสาทผึ้ง
ปราสาทผึ้ง
ปราสาทผึ้ง แต่งเป็นทรงบุษบก
ปราสาทผึ้ง แต่งเป็น พระบรมมหาราชวัง
ปราสาทผึ้ง อันสวยสดงดงาม
ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้งจาเรื่องไตรภูมิพระร่วง ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่มีปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในโลกภูมิต่าง ๆ ตามที่ได้ประกอบกรรมดีหรือกรรมชั่วไว้ โดยเฉพาะ ความเชื่อที่ว่า ผู้ที่ประกอบกรรมดีจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ภูมิชั้นต่าง ๆ ที่มีวิมาน ปราสาทเป็นเรือนที่อยู่อาศัย
ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้งจากเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์ มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ (เป็นของพระลังกาแต่ง) ที่ได้กล่าวถึงพระมาลัยอรหันต์ ซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์หนึ่ง (ไม่ใช่สาวกที่เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า แต่เป็นสาวก รุ่นหลัง เหมือนพระนาคเสน และเป็นพระลังกา) ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เคย ไปเทศนาโปรดสัตว์ในนรกภูมิ (ความจริงแล้ว สัตว์นรกไม่สามารถฟังธรรมได้ เพราะอำนาจบาปกรรมที่ทำไว้ ไม่มีปัญญาที่จะรับรู้หรือเข้าใจธรรมได้) และได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อไหว้องค์พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์ (ในตำราทางพุทธ เถรวาท เรียกว่า "พระเมตไตยะ" ที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล หลังจากนั้น พระมาลัยอรหันต์ ได้เทศนาโปรดแก่พุทธศาสนิกชน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสร้างบุญกุศล เพื่อที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ รวมทั้งการสร้าง อาคารศาสนสถานถวายเป็นพุทธบูชานั้นเป็นหนทางหนึ่ง ที่เป็นอานิสงส์ นำพาให้ได้ ไปเกิดในบนสวรรค์ มีวิมานเป็นที่อยู่อาศัย และมีเหล่านางฟ้าเป็นบริวารด้วย
ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้ง จากเรื่องการประกอบพิธีพลีดวงวิญญาณ หรือพิธีกงเต็กตามคติในพุทธศาสนามหายาน ด้วยการจัดทำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างบ้านเรือนด้วยกระดาษ ในลักษณะของสิ่งของเครื่องใช้ และบ้านจำลอง แล้วนำมาเผาอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ ได้นำไปใช้อยู่อาศัยในโลกหน้าต่อไป
ความเชื่อที่เนื่องในภูตผีวิญญาณ เป็นความเชื่อพื้นบ้านที่ทำให้ชาวอีสาน ถือเป็น ปรัชญาคติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทผึ้ง คือ ความเชื่อที่ว่า คนที่ตายไป แล้ว ดวงวิญญาณ (ทางพุทธเรียกว่า "โอปปาติกะ = สัตว์จำพวกหนึ่ง ที่ผุดเกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัลป์ ฯลฯ เรียกง่าย ๆ ว่า กายทิพย์") ก็ยังต้องการสิ่งต่าง ๆ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต้องการที่อยู่อาศัย ทำให้มีการประกอบพิธีเซ่นสรวง ดวงวิญญาณ ตลอดจนการสร้างเรือนจำลองในลักษณะของศาลหรือหอผี (อีสาน ก็ทำเหมือนจีน คือ เอาไม้ไผ่มาทำเป็นโครงบ้าน แล้วปะด้วยกระดาษ) เพื่ออุทิศ ให้เป็นที่สิงสถิตแก่ดวงวิญญาณด้วย จากความเชื่อดังกล่าว จึงเป็นแนวคิดส่วนหนึ่ง ที่ปรับเข้ากับการสร้างปราสาทผึ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารจำลอง เพื่ออุทิศส่วนกุศล จากการสร้างปราสาทผึ้งแก่ดวงวิญญาณบรรพบุึรุษ หรือเจ้ากรรมนายเวรผู้ล่วงลับ
ความเชื่อที่เนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับความนิยม ในการสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย ให้เป็นอาคารเทวสถาน ที่เชื่อว่าเป็นวิมาน ที่ประทับของเทพเจ้าสำคัญในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ โดยเชื่อว่า การสร้างเทวาลัยอุทิศถวายแด่เทพเจ้านั้น เป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด และยังเชื่อว่าอานิสงส์ของผู้ที่สร้างเทวาลัยอุทิศถวายนั้น จะส่งผลให้ชีวิตหลัง ความตาย คือดวงวิญญาณจะได้เข้าไปรวมกับองค์เทพเจ้า ที่ประดิษฐาน อยู่ในอาคารเทวาลัย ที่ได้สร้างไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น